วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

พลังงาน






พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบันและทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น จากน้ำมันปิโตรเลียมไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหลายประเภทด้วยกัน แต่อาจจะมีในปริมาณค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ บางครั้งวิกฤตการณ์ของโลกอาจจะทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังต้องมีการสั่งน้ำมันเข้าเป็นจำนวนมาก


1. น้ำมันปิโตรเลียม
ประเทศไทยมีน้ำมันปิโตรเลียมในแหล่งต่าง ๆ ที่พิสูจน์แล้วไม่น้อยกว่า 174 ล้านบาร์เรล ได้แก่ น้ำมันจากอ่าวไทย (เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งสตูล) อำเภอฝาง และแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร และคาดว่าจะต้องค้นพบอีกหลาย ๆ แห่ง เช่น บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี สุราษฎ์ธานี ซึ่งคาดว่าจะพบอีกไม่น้อยว่า 100 ล้านบาร์เรล เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นแอ่งสะสมน้ำมันปิโตรเลียม ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องสั่งเข้าน้ำมันปิโตรเลียมเป็นอัตราส่วนสูง เนื่องจากการผลิตในประเทศไทยยังต่ำกว่าปริมาณการใช้มาก การขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ผลที่จะเกิดขึ้นอาจจะมาจากวัสดุที่ใช้หล่อลื่นในการขุด (Drilling fluid) การระบายน้ำเค็ม ที่มีความเค็มสูงมากจากหลุมเจาะ และมีสารบางประเภทที่เป็นพิษปะปนออกมาด้วย เช่น ปรอท แคดเมียม โครเมียม เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วการจัดการกับบ่อภายหลังสิ้นสุดการนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ก็มีความสำคัญต่อสภาพความมั่นคงของพื้นที่ที่อยู่โดยรอบบ่อน้ำมัน
ภาพการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง





















2. ก๊าซธรรมชาติ
นับเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันปริมาณของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยที่พิสูจน์แล้วทั้งหมดมากกว่า 100 พันล้านลูกบาศก์เมตร และโอกาสที่จะพบเพิ่มเติมมีโอกาสสูงมากโดยเฉพาะในบริเวณอ่าวไทยซึ่งการผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น สามารถนำมาผลิตเป็นมีเธน อีเทน และแอลพีจี ซึ่งใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับไฟฟ้าเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มและยานพาหนะ ก๊าซธรรมชาติเมื่อผ่านเข้ากระบวนการผลิตจะแยกได้ผลพลอยได้อย่างหนึ่งปนมากับก๊าซที่อยู่ในรูปของละอองน้ำมัน เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนเบนซินธรรมชาติ สามารถนำไปผสมกับน้ำมันดิบ เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินได้ นอกจากนั้นแล้วในแหล่งต่าง ๆ ในอ่าวไทย ยังมีก๊าซธรรมชาติเหลวปะปนอยู่ในแอ่งก๊าซธรรมชาติด้วย ดังนั้นก๊าซธรรมชาติจึงนับว่าเป็นแหล่งพลังงานของประเทศไทยที่มีความสำคัญ ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินการเพื่อขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม
3. ถ่านหินลิกไนต์
ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินลิกไนต์รวมทั้งหมด 72 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือและภาคใต้ แอ่งที่จัดว่ามีปริมาณถ่านหินลิกไนต์มากได้แก่ แอ่งแม่เมาะ แอ่งกระบี่ ซึ่งได้มีการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า นับเป็นเวลานานแล้ว ส่วนแหล่งอื่น ๆ ที่สำรวจแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการเพื่อนำถ่านหินมาใช้ ได้แก่ แอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา แอ่งสินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นับว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินลิกไนต์สะสมเป็นจำนวนมหาศาล การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะผลิตกระแสไฟฟ้า ยกเว้นเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ที่มีเอกชนเข้ามาเปิดดำเนินการ เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์ไปใช้ประโยชน์ให้ความร้อนในทางอุตสาหกรรม หากประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินปีละประมาณ 50 ล้านตัน เมื่อเทียบอัตราการใช้ในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้ถ่านหินของประเทศไทยจะใช้งานได้ประมาณ 25 ปี นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศ การนำแร่ถ่านหินลิกไนต์มาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ ในอากาศจะมีปริมาณของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สลายออกจากถ่านหินเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านฝนกรดได้ ส่วนการทำเหมืองจะก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ โดยเฉพาะน้ำบาดาล ซึ่งจะเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน 

4. พลังน้ำ
การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยพลังน้ำ โดยการสร้างเขื่อนนั้น เป็นวิธีการซึ่งให้ได้มาซึ่งพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ โดยหลักแล้วเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแรกได้แก่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และต่อมาเขื่อนก็ถูกสร้างขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุดรดิตถ์ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น พลังน้ำจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในราคาต้นทุนต่ำ แต่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรคำนึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสูญเสียเนื้อที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ราษฎรในพื้นที่น้ำท่วมจึงจะต้องอพยพย้ายที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ สัตว์ป่าต่าง ๆ จะสูญเสียที่อยู่อาศัยหรืออาจจะสูญพันธุ์ไปโดยไม่สามารถป้องกันได้ เพราะการอพยพสัตว์ป่าออกจากพื้นที่น้ำท่วมนั้น ไม่สามารถจะโยกย้ายสัตว์ได้ทันทุกชนิด นอกจากนั้นแล้ว แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อาจจะถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้น้ำ โดยไม่มีโอกาสนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ของประเทศ ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจะประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ซึ่งถ้าหากกระทำได้แล้วอาจจะทำให้ต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงโดยพลังน้ำ จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยวิธีอื่น ๆ
5. ไม้และถ่าน
แหล่งพลังงานของประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่ได้จากชีวมวล อันได้แก่ ไม้ฟืนและถ่าน แต่การใช้ป่าไม้เพื่อผลิตพลังงานนั้น จะก่อให้เกิดการทำลายป่าไม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ได้มีการหวั่นวิตกอยู่ในปัจจุบัน การนำไม้มาใช้เพื่อเป็นแหล่งความร้อนและพลังงานทำให้ป่าปกคลุมโลกประมาณร้อยละ 20 ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงเป็นการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย และจะต้องใช้พื้นที่อย่างกว้างขวางเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกับหน่วยความร้อนที่จะได้ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่ นอกจากนั้นแล้วจะต้องมีการปลูกพืชขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลา จึงถือว่าไม้และถ่านเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่น่าจะพัฒนาให้มีการใช้ในโลกปัจจุบัน
6. พลังงานรังสีอาทิตย์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะได้รับรังสีอาทิตย์เฉลี่ยประมาณวันละ 17 เมกะจูลต่อตารางเมตร ซึ่งประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากรังสีอาทิตย์มานานตั้งแต่ในอดีต เช่น การผลิตเกลือจากน้ำทะเล การตากผลิตผลทางเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่ยังมิได้ประเมินปริมาณรังสีอาทิตย์ที่ประเทศได้ใช้ในแต่ละปี ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำรังสีอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และสามารถจะเก็บสะสมไว้ในรูปของเซลความร้อนที่จะสามารถเรียกใช้ได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากพลังงานจากรังสีอาทิตย์แล้ว ที่เป็นแหล่งพลังงานจากระบบสุริยจักรวาลอีกอย่างได้แก่ พลังงานลมและพลังงานกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยได้เริ่มทำการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะพลังงานลมได้มีสถานีสาธิตและประเมินความเหมาะสมที่จังหวัดภูเก็ต
ภาพหลอดประหยัด



















7. พลังงานนิวเคลียร์
ประเทศอุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้พื้นที่น้อยให้ปริมาณความร้อนสูง และเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่ได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบนอกระบบ เนื่องจากระบบการผลิตเป็นการควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติแม้แต่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียด้วยกันยังมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย ปัจจุบันกำลังไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์รวมกันประมาณร้อยละ 20 ของกำลังผลิตของโลก ประเทศไทยได้เคยทำการศึกษาความเหมาะสมเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่อ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ปัจจุบันยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แต่อย่างใด เนื่องจากมีความไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า การใช้พลังงานนิวเคลียร์อาจจะมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น การกำจัดกากเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องมีสถานที่ที่เหมาะสม อาจจะเป็นในทะเลลึกโดยฝังในชั้นหินที่ไม่ซึมน้ำ หรือการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้า แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันแก้ไขได้โดยการวางแผนและการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ประเทศไทยจึงควรพิจารณาการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไว้เป็นทางเลือกสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคตแทนการสร้างเขื่อนซึ่งอาจจะมีปัญหาการใช้พื้นที่ หรือการใช้ถ่านหินที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมลพิษด้านอากาศ
8. หินน้ำมัน
หินน้ำมันในประเทศไทยจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า มีการสะสมตัวเป็นจำนวนมากในบริเวณจังหวัดตาก ซึ่งประเมินปริมาณสำรองเบื้องต้นประมาณ 21,000 ล้านตัน โดยจะมีน้ำมันดิบปะปนอยู่ประมาณ 6,700 ล้านบาร์เรล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว ปริมาณน้ำมันที่สะสมอยู่ในชั้นหินของประเทศไทยค่อนข้างต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 28 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของการแยกน้ำมันออกจากหินน้ำมันยังไม่ก้าวหน้าเพียงพอทำให้อัตราการคืนตัวต่ำ ในขณะเดียวกับราคาต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ทำให้ศักยภาพของการนำหินน้ำมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในอนาคตค่อนข้างต่ำ และไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมปัจจุบัน

วิธีประหยัดไฟแบบง่ายๆ

          1. ปิดสวิตซ์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน ดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง

           2. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5

           3. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5


พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

พลังที่เราใช่กันทุกวันก็มีหลายแบบนะเช่นพลังงานจากลมพลังจากแสงอาทิตย์แล้วพลังงานจากถ่านหินเป็นต้นสมมุตถ้าพลังงานของเราหมดไปแล้วเราจะเอาพลังงานอะไรไปใช่เพราะฉะนั้นเราควรช่วยกันประหยัดพลังงานเพื่อโลกของเราและคนที่คุณรักและอีกอย่างหนึ่งคือการช่วยลดภาวะโลกรอน






คำคมโดนๆ
"ป.ปลานั้นหายาก  ต้องลำบากออกเรือไป
ขนส่งจากแดนไกล  ใช้น้ำแข็งเปลืองน้ำมัน
แช่เย็นต้องใช้ไฟ  หุงต้มใช้แก๊สทั้งนั้น
พลังงานต้องหมดกัน  โอ้ลูกหลานจำจงดี"




อ้างอิง
http://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/energy/energy.htm



วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลี้ยงกบ ตามแนวทางเศรษพอเพียง


เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์


 
เงินลงทุน 

             ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ

รายได้ 

             ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท

วัสดุ/อุปกรณ์ 
             แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต

แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ 


            ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป

วิธีดำเนินการ
        1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

       2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด

       3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
การเพาะพันธุ์กบ 

             ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก


การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน 

            เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต 

           เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้

ตลาด/แหล่งจำหน่าย 

           ส่งขายตามตลาดสดทั่วไป หรือร้านอาหาร

สถานที่ให้คำปรึกษา
          1. กองส่งเสริมการประมง กรมประมง โทร. 561-4689
          2. สำนักงานประมงจังหวัดและอำเภอ 
ข้อแนะนำ
        1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ  ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ 
        2. การเลี้ยงกบ  ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง
          3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก
          4.  อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว  สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
        5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่

ที่มา : ส่งเสริมการมีงานทำ , กอง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
            "เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์," 

หลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ





หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง



               เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
        มีหลักพิจารณา ดังนี้
         กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
         คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
         คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
         เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี





ที่มา : http://www.rtafa.ac.th/admin/economics_philosophy/economicsphilosophy.htm




วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม2ของฉัน


                
  ประวัติโรงเรียน


โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นลำดับที่ 39 ของจังหวัดเชียงรายของกรมสามัญศึกษา ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1121 กิโลเมตรที่ 4 – 5 เส้นทางสายเชียงราย – ดงมะดะ มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 393 หมู่ที่ 1 ถนนเชียงราย – ดงมะดะ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 
    



                ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นฌาปนสถานประจำหมู่บ้านหัวฝาย พ่อหลวงจวน ไชยชมภู ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นมีแนวความคิดที่จะพัฒนาหมู่บ้าน เนื่องด้วยในขณะนั้นหมู่บ้านยังไม่มีความเจริญ เส้นทางคมนาคมยากลำบาก จึงมีความเห็นที่อยากจะให้หน่วยงานทางราชการเข้าไปตั้งสถานที่ราชการในหมู่ บ้านเพื่อที่จะทำให้หมู่บ้านเจริญขึ้น จึงขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ในสมัยที่ท่านผู้อำนวยการ บรรจง พงศ์ศาสตร์(อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา)เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมอบหมายให้ อาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ หัวหน้าหมวดเกษตรกรรมศิลป์ ได้ดำเนินการประสานงานกับพ่อหลวงจวน ไชยชมภู และจัดหางบประมาณ โดยคณะครู – อาจารย์และนักเรียนได้จัดกิจกรรมต่างๆ หาเงินซื้อที่ดิน จนครบ 40,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อซื้อที่ดินและมีโครงการใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นไร่ฝึกเกษตรของโรงเรียน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 อาจารย์บรรจง พงศ์ศาสตร์ ได้ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจังหวัด เชียงใหม่และในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นอาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ ได้โอนย้ายไปรับราชการในสำนักงานปฏิรูปที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารโรงเรียนในยุคต่อมาเห็นว่าการเดินทางไป–กลับของนักเรียนเพื่อ ปฏิบัติงานที่ไร่ฝึกเกษตรยากลำบาก ดังนั้นจึงได้ระงับโครงการไร่ฝึกเกษตรดังกล่าว ที่ดินแปลงนี้จึงถูกทิ้งรกร้างอีกระยะหนึ่ง
                   ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการประสิทธิ์ แสนไชย ได้พัฒนาไร่ฝึกเกษตรอีกครั้ง โดยปลี่ยนแปลงเป็นสวนป่าโรงเรียนจึงได้รับมอบหมายให้หมวดวิชาเกษตรกรรม ประสานงานตามโครงการ และให้ครู – อาจารย์และนักเรียนร่วมกันปลูกไม้ยืนต้น ต่อมาในสมัยที่ผู้อำนวยการบุญส่ง ไชยลาม (2532 – 2536) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนโยบายที่จะใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นสถานที่ฝึกอบรมของโรงเรียนแต่โครงการดัง กล่าวไม่บรรลุผล อาจารย์เฉลิมชัย รัตนประยูร ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้ตระหนักถึงการขยายตัวทางการศึกษาของจังหวัดเชียงรายในอนาคต ตลอดจนความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมในขณะนั้นมีจำนวน มากเกินกว่าที่ทางโรงเรียนจะรับได้ ประกอบกับที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินจัดซื้อจากวิสัยทัศน์ของท่านอธิบดี บรรจง พงศ์ศาสตร์ และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ดังที่คาดหวัง จึงได้ปรึกษากับผู้ใหญ่ในกรมสามัญศึกษาจึงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้ง โรงเรียนโดยให้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536
               ในปีการศึกษา 2537 โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนจำนวน 103 คน โดยมีนายสงัด มิตกิตติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นคนแรก ดำเนินการรับสมัครนักเรียน

                วันที่ 13 พฤษภาคม 2537 – 30 กันยายน 2544 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้ง นางพาณี จินดา-วงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

                 วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 – 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 นายทวีศักดิ์ พิพัฒน์ขจรศักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

                 วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายอุทิศ สิทธิยศสมบัติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

                 วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2549 – พ.ศ. 2552 นายพานทอง วังเค็ม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2






โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม

อัตลักษณ์ของผู้เรียน

นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตอาสา


ติธรรมประจำโรงเรียน

พลํ สํง ฆฺส ส สามฺค คี     “สามัคคี คือ พลัง
ปรัชญาของโรงเรียน
เน้นคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม” 


เครื่องหมายประจำโรงเรียน


              

   

               -  ห่วงกลม 6 ห่วง ประกอบด้วยสี 3 สี หมายถึง

               - สีประจำโรงเรียน คือ น้ำเงิน ขาว แสด เกาะเกลียวกันเป็นลูกโซ่อย่างเหนียวแน่น มั่นคง  เปรียบเสมือนความสามัคคีกลมเกลียวแน่นแฟ้น

               - รอบ ๆ ห่วง 6 ห่วง จะเปล่งประกายออกเป็นรัศมีทองแสด รวมทั้งหมด 39 แฉกหมายถึง   เป็นโรงเรียนมัธยมโรงที่ 39 ของจังหวัดเชียงราย

               - ตัวอักษรภาษาบาลี หมายถึง คติธรรมประจำโรงเรียน

             - ใต้ตัวอักษรบาลี  คือ  ปีพุทธศักราชที่ก่อตั้งโรงเรียน
 สีประจำโรงเรียน
          น้ำเงิน : ขาว : แสด

ต้นไม้ประจำโรงเรียน
           ต้นอินทนิล
 
จากเว็บ